วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ปัจจุบันการที่จะมีบ้านในพื้นที่มาก ๆ เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะราคาที่ดินนับวันจะสูงขึ้น ๆ ที่อยู่อาศัยจึงถูก สร้างขึ้นในรูป ตึกแถว (townhouse) หรืออาคารชุด (condomenium) โอกาสที่จะทำสวนสวย ๆ บนพื้นที่จึงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตามใน อาคารดังกล่าวข้างต้น ก็มีพื้นที่ที่จะจัดสวนได้ เพราะอาคารส่วนใหญ่มักจะมีดาดฟ้าชั้นบนสุด เป็นพื้นที่โล่ง แม้แต่อาคารชุดก็จะมีระเบียง (balcony) ที่จะจัดตกแต่งได้เช่นกัน

พื้นที่บนดาดฟ้า อาจจะแบ่งเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำห้องพักผ่อน ห้องทำงาน บริเวณตากผ้า และบริเวณที่จะตกแต่งเป็นที่พักผ่อนภายนอก ซึ่งการจัดแบ่งพื้นที่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งพิจารณาว่าจะจัดสวนลงในพื้นที่หรือจัดสวโดยใช้ไม้กระถางตกแต่ง น้ำหนักของสวนจะต้องพอเหมาะกับ โครงสร้างของตัว อาคาร ถ้าหากอาคารไม่ได้คำนวณเผื่อไว้สำหรับการจัดสวนด้วย ก็ควรจะหลีกเลี่ยง การจัดสวน ที่ใช้องค์ประกอบ ในการจัด ซึ่งหนักเกินไป นอกจากนี้จะต้องพิจารณาถึงทางระบายน้ำเมื่อมีการรดน้ำต้นไม้ มีเหตุเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อรดน้ำต้นไม้บนดาดฟ้า แล้วน้ำไหลลงมา รบกวนคนอยู่ข้างล่าง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง

รูปแบบของการจัดสวนบนดาดฟ้าจะต้องพิจารณาถึงความเรียบง่ายทั้งการก่อสร้างและการดูแลรักษา พรรณไม้ที่เลือกใช้ ควรเป็นไม้ที่ชอบอากาศร้อนทนลม และทนแล้งได้พอสมควรรวมถึงต้องสามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่จำกัด เช่น ในกระบะ หรือในกระถาง

สวนลอยฟ้า

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

1. สวนที่ปลูกไม้เศรษฐกิจและไม้ดอก สวนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันจะปลูกไม้เศรษฐกิจจำพวกไม้ผลตามฤดูกาล เช่น มะม่วง มะพร้าว และขนุน ส่วนไม้ดอก เช่น พุด มะลิ และรัก เป็นต้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้ยังเห็นได้ในบ้านเรือนปัจจุบัน

2. สวนป่า โดยส่วนใหญ่จะเป็นสวนของพระเจ้าแผ่นดิน จะมีการปลูกไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้ผล ไม้ประดับ ไว้ในสวน ในสมัยสุโขทัยจะมีสวนในรูปแบบนี้ ชื่อ “อรัญญิก” ในสมัยอยุธยา คือ “สวนหลวงสบสวรรค์” ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ “สวนสราญรมย์” ซึ่งตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน

3. สวนไม้ดัด เป็นสวนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความงดงามไม่แพ้บอนไซของญี่ปุ่น สวนไม้ดัดไทยนี้จะต้องใช้ความอดทน ความพยายามและมีใจรักในงานศิลปะ จึงจะสามารถปลูกไม้ดัดให้มีรูปทรงสวยงามได้ โดยไม้ดัดดังกล่าวเกิดจากการนำต้นไม้ เช่น ตะโก ข่อย มะขาม มะนาวเทศ ชาและโมกข์ มาปลูกในกระถาง เลี้ยงโดยให้อาหารและน้ำน้อย ๆ จากนั้นก็ตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่มตามต้องการ

4. สวนสมุนไพร ส่วนใหญ่จะปลูกในวัด ซึ่งเป็นที่รวมของศิลปะวิทยาการต่าง ๆ เช่น วัดโพธิ์ท่าเตียน ที่มีการปลูกสมุนไพรในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ พร้อมแผ่นจารึกตำรายา

5. สวนน้ำ ในสมัยก่อนตามเขตหัวเมืองต่าง ๆ เมื่อมีการสร้างบ้าน ถ้าไม่ได้อยู่ริมน้ำก็จะมีการขุดสระน้ำ คู บ่อ สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยจะมีการปลูกบัวไว้เพื่อช่วยกรองน้ำให้ใส เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและยังเก็บสายบัวมาทำเป็นอาหารได้อีกด้วย ปัจจุบันจึงมีการประยุกต์นำสวนน้ำมาตกแต่งบ้านเรือน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับบ้าน

6. สวนบนเรือน จะนำไม้มาปลูกในกระถาง เช่น ไม้ดัด ไม้แคระ ฯลฯ จากนั้นนำมาตั้งบนเรือนตามปากประตูนอกชาน บางทีก็มีการทำแคร่ไม้เป็นชั้น ๆ เหมือนขั้นบันได ลดหลั่นกัน เพื่อวางกระถางต้นไม้ประดับบนชานเรือน

7. สวนไม้ใหญ่ เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของสวนไทยที่ต้องมีการปลูกไม้ใหญ่ เช่น โพธิ์ กระทิง ลั่นทม โดยจะพบสวนแบบนี้ตามลานวัดเพื่อให้ร่มเงา โดยอาจมีการนำตุ๊กตาดินปั้นที่แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนมาตั้งประดับเพิ่มเติม

8. สวนสากล เป็นลักษณะของสวนไทยในปัจจุบันที่รวบรวมเอาสวนของประเทศต่าง ๆ เช่น สวนญี่ปุ่น สวนจีน สวนอังกฤษหรือสวนฝรั่งเศส เข้าไว้ในสวนเดียวกัน โดยมีการแบ่งแยกการตกแต่งออกเป็นส่วน ๆ อย่างชัดเจน

จะเห็นได้ว่า ลักษณะของสวนไทยทั้ง 8 แบบนั้น มีความ เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศของเมืองไทยเป็นอย่างดี ถ้านำสวน แบบต่าง ๆ นี้มาประยุกต์จัดตกแต่งในบ้าน นอกจากจะให้ความสดชื่นร่มเย็น ยังสามารถเก็บดอกเก็บผลมาใช้ประโยชน์ได้อีก



การจัดสวนบ้าน
การจัดสวนภายในบ้านพักอาศัย จำเป็นต้องออกแบบให้เกิดประโยชน์ใช้สอยสูงสุด และ ให้ดูสวยงามรับกับรูปทรงของบ้าน โดยทั่วไปจะแบ่งพื้นที่บริเวณรอบบ้านเพื่อการจัดตกแต่งดังนี้

1. บริเวณหน้าบ้านควรจัดเป็นสวนประดับที่มีสนามหญ้า พรรณไม้หรืออาจใช้หินประดับ มีลำธาร น้ำพุ น้ำตก ไฟประดับ ฯลฯ ประกอบอยู่ด้วย
2. บริเวณด้านข้างตัวบ้าน ควรพิจารณาปลูกพรรณไม้ประดับที่ให้ร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด หรือพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอม
3. บริเวณหลังบ้าน ถ้ามีบริเวณกว้างพออาจออกแบบ ทำบ่อ ลำธาร น้ำตกสระว่ายน้ำ ส นามกีฬา กรงเลี้ยงสัตว์ หลุมขยะ ราวตากผ้า แปลงปลูกผักสวนครัวไม้ผลหรือไม้ประดับยืนต้น

ในสภาพสังคมยุคปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ แก่งแย่งเอาเปรียบนั้น ได้สร้างความกดดันและความเครียดให้แก่มนุษย์โดยไม่รู้ตัว สิ่งเดียวที่จะช่วยผ่อนคลายได้ก็คือ การหันเข้าหาธรรมชาติเท่าที่เวลาจะพึงมีให้ การผ่อนคลายโดยการเดินทางท่องเที่ยว แม้จะช่วยได้มากแต่ก็สิ้นเปลืองเงินทอง โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งเราจำเป็นต้องประหยัดการใช้จ่ายให้มากที่สุด วิธีการที่ดีกว่าน่าจะเป็นการหาทางพักผ่อนอยู่กับบ้าน หาทางทำอะไรให้เพลิดเพลิน ลืมความเครียดที่มีอยู่ลงไปเสียบ้าง ก็จะทำให้เกิดความผ่อนคลายของอารมณ์ลงได้เป็นอย่างดี และไม่สิ้นเปลือง ฉะนั้นการหันเข้าหาต้นไม้เล็กๆ สักต้น ค่อยๆ ทะนุถนอม ตัดเล็มกิ่งก้าน ตกแต่งรูปทรงให้เหมือนไม้ใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็สร้างจินตนาการและให้ความผ่อนคลายแก่เจ้าของได้มากทีเดียว
ถ้าคุณสนใจที่จะผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีนี้ เว็บไซท์นี้คงไม่ทำให้คุณผิดหวัง.......



ไม้แคระกับไม้ดัด... เหมือนกันหรือเปล่า ?

ก่อนที่กล่าวอะไรกันต่อไป มาทำความเข้าใจกับเรื่องของ "ไม้แคระ" และ "ไม้ดัด" กันก่อนดีกว่า ไม้ทั้งสองประเภทนี้ต่างกันไปคนละเรื่อง คำว่า "บอนไซ" ว่าเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงไม้แคระ อันหมายถึงต้นไม้ซึ่งปกติแล้วจะมีขนาดใหญ่แต่เอามาเลี้ยงให้แคระ โดยยังคงลักษณะเดิมอยู่ทุกประการ มองดูแล้วเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ย่อส่วนลงมา ไม่ว่าจะเป็นกิ่งก้านหรือแม้แต่ใบก็มีขนาดเล็กลงสมตัวด้วย มีบางส่วนที่ถูกดัด ทั้งต้นและกิ่ง แต่ก็ยังน้อยกว่าไม้ดัดแบบไทยๆ มาก และเมื่อถึงฤดูการที่จะต้องออกดอกออกผล ไม้แคระเหล่านี้จะออกดอกออกผลได้เหมือนต้นใหญ่ๆ ไม่ใช่ต้นไม้ที่เอามาตัดกิ่งก้านทิ้งให้ต้นเล็กลงมองดูเหมือนหุ่นกระบอก แล้วไปเรียกว่าบอนไซ

ส่วนไม้ดัดนั้นเป็นภาษาไทย และมีความเป็นมาอยู่ในประเทศไทยนี้เอง ไม้ดัดเป็นไม้ยืนต้นบางชนิดที่สามารถนำมาปลูกเลี้ยงในกระถางได้ ส่วนมากที่พบมักเป็นตะโก ข่อย และโมก เมื่อต้นมีขนาดพอได้ที่แล้วก็จะทำการดัดกิ่งก้านให้มีรูปทรงตามใจชอบ แต่มีการวางกฏเกณฑ์ของรูปทรงที่แน่นอนไว้แล้ว และรูปทรงส่วนใหญ่ก็พิสดารเกินกว่าจะคาดถึง ขนาดต้นของไม้ดัดโดยทั่วไปจะสูงใหญ่กว่าบอนไซหรือไม้แคระมาก ไม้ดัดไทยอาจมีขนาดความสูงเป็นเมตรหรือสูงท่วมหัว ในขณะที่ไม้บอนไซมีความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่ที่เห็นจะสูงไม่ถึงเมตร ไม้ดัดไทยมีประวัติย้อนไปถึงสมัยอยุธยา เราจะพบการพรรณาถึงไม้ดัดอยู่เสมอในวรรณคดีไทย



ที่มาของไม้แคระ

แม้เราจะรู้จักบอนไซว่าเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วบอนไซถือกำเนิดมาจากจีน ตั้งแต่สมันราชวงศ์จิ้น ประมาณปีพุทธศุกราช 800 ถึง 900 ไม้แคระภาษาจีนออกเสียงว่า "บุ่งไช่" มีความหมายถึงการตัดแต่งต้นไม้ในกระถาง ส่วนการจัดสวนถาดหรือต้นไม้ย่อส่วนประดับทิวทัศน์นั้น มาเริ่มนิยมกันในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณปีพุทธศักราช 1160 และเป็นงานอดิเรกที่ขึ้นชื่อของคนในสมัยนั้น และเมื่อญี่ปุ่นเข้ามามีความสัมพันธ์กับจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ประมาณปี พ.ศ.337 ถึง 764 ศิลปวัฒนธรรมจีนก็เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อประเทศญี่ปุ่นอย่างมาก มาจนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1823 - 1911) ญี่ปุ่นก็ได้นำเอาศิลปะของไม้ย่อส่วนหรือไม้แคระเข้าสู่ประเทศ โดยชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาติดต่อราชการกับจีน หลังจากนั้นก็มีคนจีนที่เดินทางไปญี่ปุ่นได้นำเอาศิลปะของการเลี้ยงไม้แคระไปเผยแพร่ และนี่คือจุดเริ่มต้นของบอนไซในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่มาของไม้แคระจะเริ่มจากจีน แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นผู้ที่หลงไหลในเสน่ห์ของไม้ย่อส่วนนี้ และได้พัฒนาศิลปแขนงนี้เรื่อยมา โลกส่วนใหญ่ได้รับรู้การแพร่กระจายของศิลปการเลี้ยงไม้แคระจากญี่ปุ่น ดังนั้นเราจึงน่าจะให้เครดิตชาวญี่ปุ่นในเรื่องนี้

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไม้ดัดมีเล่นกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนบอนไซคาดว่าเริ่มรู้จักกันในสมัยอยุธยา โดยชาวญิ่ปุ่นเป็นผู้นำเข้ามา เรื่องของไม้ดัดและบอนไซนี้จะเห็นได้จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งบรรยายถึงไม้ดัดและไม้แคระไว้หลายตอน แต่ในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นความนิยมในไม้ดัดมากกว่าไม้แคระ การเลี้ยงบอนไซหรือไม้แคระนี้กลับมาเป็นที่นิยมกันเมื่อประมาณยี่สิบปีมานี้เอง และก็เป็นที่น่าเสียดายที่ว่า เมื่อห้าหกปีที่ผ่านมานี้ความนิยมในการเลี้ยงบอนไซกลับเสื่อมลงไปอีก ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการโก่งราคาซื้อขายกันสูงลิบลิ่วในช่วงที่กำลังเห่อกันเต็มที่ ทำให้นักเลี้ยงหน้าใหม่ท้อใจไปตามๆ กัน ประการที่สองก็คือ ไม้ป่าที่มีอยู่ถูกขุดมาขายกันจนเกลี้ยงป่าไปแล้ว ทราบว่าตอนนี้ต้องแอบเข้าไปขุดเอามาจากเพื่อนบ้านข้างๆ เรา แต่ปัจจุบันราคาไม้ที่พอจะเอามาทำบอนไซได้เริ่มลดลงแล้ว ถ้าจะหาซื้อจากสวนจตุจักรก็พอจะหาได้ด้วยสนนราคาที่พอจะสู้ไหวแต่จะให้ได้รูปทรงตามตำราคงลำบาก

ศิลปของบอนไซ

บอกกันเสียแต่เนิ่นๆ เลยว่า สิ่งที่เรากำลังจะคุยกันต่อไปนี้เป็นเรื่องสำหรับผู้ที่ "รัก" และ "เข้าใจ" ในศิลปของไม้บอนไซ และต้องการจะเป็นเจ้าของไม้ต้นนั้นๆ อย่างสมบูรณ์ ด้วยการลงมือเลี้ยง ดัดกิ่ง ตัดแต่ง และดูแลด้วยตัวเองเท่านั้น สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของไม้บอนไซด้วยการไปซื้อไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้ จนรูปทรงสมบูรณ์แล้วมาตั้งไว้ในบ้าน เพราะเห็นว่าสวยดี ถ้าจะลองอ่านดูก็ไม่ผิดกติกาอันใด แต่หากตั้งดูเล่นแล้วก็เกิดไปหลงเสน่ห์มันเข้าจริงๆ ถ้าอยากจะลองทำทุกอย่างด้วยตนเองบ้าง เว็บไซท์นี้ก็ขอต้อนรับด้วยความยินดี

การปลูกเลี้ยงบอนไซเป็นศิลปแขนงหนึ่งซึ่งผู้ที่จะเข้าถึงได้จะต้อง "ผ่าน" การทดสอบความอดทน ความใจเย็น และความสุขุมลุ่มลึก การตัดแต่งกิ่งบอนไซต้องการความมีสมาธิอย่างมาก คมกรรไกรที่กดลงบนกิ่งแต่ละกิ่งต้องการความเชื่อมั่นอย่างสูง ความผิดพลาดแม้แต่เพียงน้อยนิดหมายถึงการเริ่มต้นใหม่ นั่นคือการรอคอยให้กิ่งใหม่แตกออกมาแทนกิ่งที่ถูกตัดผิดพลาดไป ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาในการรอคอยกิ่งใหม่นี้นานนับปีทีเดียว

ศิลปของบอนไซเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่จะนำมาทำเป็นไม้แคระ
การปลูกเลี้ยง การตัด การดัดและตกแต่งกิ่ง การบำรุงรักษา ซึ่งล่วนแต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความใจเย็น ความประณีตบรรจงในการทำงานแต่ละขั้นตอน ตลอดจนความอดทน รอคอยการเจริญเติบโตของแต่ละกิ่งแต่ละใบ และต่อไปถึงการเลือกกระถางที่จะใช้ปลูกให้พอเหมาะและกลมกลืนกับต้นไม้ และที่สำคัญที่สุดสิ่งที่เป็น"หัวใจ"ซึ่งผู้ปลูกเลี้ยงบอนไซทุกคนจะต้องมีก็คือ สายตาและจินตนาการที่ลึกซึ้งในการมองให้เห็นภาพว่า บริเวณส่วนนั้นๆ ของลำต้นควรจะมีกิ่งอยู่ตรงไหน กิ่งนั้นจะมีรูปทรงอย่างไร คดเคี้ยวไปทางไหน จึงจะทำให้ไม้ต้นนั้นมองดูเหมือนธรรมชาติมากที่สุด จากนั้นก็ลงมือจัดการให้ทุกอย่างเป็นไปตามจินตนาการ
ดังนั้น สิ่งตอบแทนที่ได้จากการปลูกเลี้ยงบอนไซ จึงมีคุณค่าในด้านจิตใจเกินกว่าที่จะกล่าวออกมาเป็นคำพูดได้



มาเลี้ยงบอนไซกันเถอะ

สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นหรือต้องการเรียนรู้การเลี้ยงไม้บอนไซ เว็บไซด์นี้จะช่วยแนะนำให้คุณตั้งแต่เริ่มทำความรู้จักกับแบบต่างๆ ของไม้บอนไซซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รู้จักกับกระถางบอนไซรูปร่างต่างๆ ตลอดจนการเลือกกระถางให้เข้ากับต้นไม้ของคุณ การเตรียมดินและเครื่องปลูก การปลูกเลี้ยง การดัดและการตัดแต่งทรงไม้ การดูแลรักษา และแนะนำพันธุ์ไม้ไทยที่สามารถนำมาทำบอนไซให้คุณได้เลือก และแถมท้ายด้วยเทคนิคของการทำไม้เกาะหิน อันเป็นที่ชื่นชอบของนักเลี้ยงบอนไซทั้งหลาย
เพื่อความสะดวกในการติดตาม เว็บไวด์นี้จึงแบ่งเรื่องของบอนไซออกเป็นตอนๆ คุณต้องการอ่านเรื่องใดก็เพียงแต่คลิกปุ่มซ้ายของเมาส์ที่บทนั้น จากนั้นก็ใช้เวลาของคุณตามสะดวก หรือหากต้องการจะพิมพ์ออกมาไว้อ่านทีหลังก็เชิญตามใจชอบ แต่เนื่องจากยังเขียนได้ไม่ครบทุกบท ดังนั้นจึงขอให้เลือกอ่านเฉพาะบทที่มีเครื่องหมาย check mark ไปพลางๆ ก่อน และขออภัยในความไม่สมประกอบมา ณ ที่นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะพยายามเขียนให้เสร็จเรียบร้อยโดยเร็วที่สุดเท่าเวลาจะอำนวยให้

บอนไซ-ทูเดย์

บอนไซทูเดย์ เป็นหมู่บ้านของคนรักบอนไซ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบอนไซ เครื่อมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้เพาะเลี้ยงบอนไซ สไตล์ของบอนไซ รวมทั้งเทคนิค เคล็ดลับต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงและสร้างทรงบอนไซสไตล์ต่างๆ

บอนไซทูเดย์ เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ที่สนใจที่จะเพาะเลี้ยงบอนไซ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน โดยบอนไซทูเดย์จะทำหน้าที่นำเสนอหลักและวิธีการต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงบอนไซให้กับผู้สนใจ และในขณะเดียวกันบอนไซทูเดย์ก็ปรารถนาที่จะได้รับประสบการณ์ คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และข้อคิดที่เป็นประโยชน์จากผู้เพาะเลี้ยงบอนไซมือเก่าผู้มีประสบการณ์ ได้เอื้อเฟื้อแบ่งปันความรู้ให้ ด้วยความยินดียี่ง

บอนไซทูเดย์ ขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมสร้างสรรค์เวบบอร์ดการเพาะเลี้ยงบอนไซนี้ ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค แนวคิด และข้อคิดเห็นในบอร์ดนี้ เพื่อร่วมกันเผยแพร่และจรรโลงวงการเพาะเลี้ยงบอนไซของไทยให้กว้างขวางและพัฒนาสืบไป

สมาชิกท่านใดมีความประสงค์ จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค กลเม็ดเคล็ดลับ ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการเพาะเลี้ยงบอนไซ เชิญที่ห้องไอเดียดีๆจากสมาชิก โดยไม่ต้องใช้รหัส signin

12 สิงหาคม 2549 ทีมงานได้เปิดห้องใหม่ เป็นห้องซื้อขาย-แลกเปลี่ยนขึ้น เพื่อให้สมาชิกได้ประกาศแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย บอนไซและอุปกรณ์กันตามอัธยาศัย เป็นการติดต่อกันโดยตรงไม่ต้องผ่านทีมงานหรือคนกลางใดๆทั้งสิ้น

หากท่านมีข้อสงสัย ต้องการสอบถาม หรือฝากเรื่องเจ้าบ้าน ขอเชิญที่ห้อง u ถาม-i ตอบ ทางเจ้าบ้านและทีมงานยินดีตอบข้อสงสัยและน้อมรับข้อเสนอแนะของทุกท่าน ด้วยความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

เคนจิ เจ้าบ้านkanjimail@thaimail.com



โพสต์โดย :
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เปิดอ่าน : 105 / 0 ความเห็น
คะแนนของข่าวนี้

(80.00%-2 ผู้โหวต)

ข่าวฮอต
"สพฐ."ประกาศรายชื่อครูเออร์ลี่ฯ แล้ว
[เปิด 2567/1 ความเห็น]
5 แนวทางเลือกหลังการเกษียณ
[เปิด 769/2 ความเห็น]
ครูเฮ! เลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี รับ 1.5 ขั้นทุกคน
[เปิด 8680/40 ความเห็น]
รายชื่อ ผอ.สพท.ใหม่ 22 ท่านแรก
[เปิด 4372/16 ความเห็น]
ไม่มีความเห็น
ข้อมูลในหมวดเดียวกัน
ครั้งหนึ่ง กับชีวิตครูดอย [1]
mv เพลง ใจร้าว มาฟังกันเยอะนะ เพราะดี [7]
เรื่องของ โอปอ (จี๊ด จี๊ดดดดดดด) [5]
เหรียญ 5 บาท (มาอ่านดูสิ) [5]
31 วันมหัศจรรย์แห่งรัก .... o(‧'''‧)o (ตรงกับตัวคุณมั้ย) [8]

[เรื่องราวดีๆ ที่ ..นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์.. เป็นคนเขียน]

มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ ปิดทองพระพุทธรูป ได้บุญอย่างไร [60]
ชมรม"พระจันทร์ยิ้ม" ขอเชิญร่วมกิจกรรม..ทางพระพุทธศาสนา... [55]
"พระจันทร์ยิ้ม" แสงธรรมที่ส่องทาง...แสงสว่างธรรมประจำใจ....... [57]
"บอนไซ" ต้นไม้มหัศจรรย์....ทำเงินล้าน...รวยๆๆๆๆๆ [105]
เปิดโลกอัจฉริยะแห่งการเรียนรู้..ให้เด็กตามฝัน อาชีพในอนาคต..... [56]

กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1

แสดงความเห็นต่อข่าวนี้

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม,
เบอร์โทรศัพท์, รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ

ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น
ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที
โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม
กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป

** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**