วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ในสภาพสังคมยุคปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ แก่งแย่งเอาเปรียบนั้น ได้สร้างความกดดันและความเครียดให้แก่มนุษย์โดยไม่รู้ตัว สิ่งเดียวที่จะช่วยผ่อนคลายได้ก็คือ การหันเข้าหาธรรมชาติเท่าที่เวลาจะพึงมีให้ การผ่อนคลายโดยการเดินทางท่องเที่ยว แม้จะช่วยได้มากแต่ก็สิ้นเปลืองเงินทอง โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งเราจำเป็นต้องประหยัดการใช้จ่ายให้มากที่สุด วิธีการที่ดีกว่าน่าจะเป็นการหาทางพักผ่อนอยู่กับบ้าน หาทางทำอะไรให้เพลิดเพลิน ลืมความเครียดที่มีอยู่ลงไปเสียบ้าง ก็จะทำให้เกิดความผ่อนคลายของอารมณ์ลงได้เป็นอย่างดี และไม่สิ้นเปลือง ฉะนั้นการหันเข้าหาต้นไม้เล็กๆ สักต้น ค่อยๆ ทะนุถนอม ตัดเล็มกิ่งก้าน ตกแต่งรูปทรงให้เหมือนไม้ใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็สร้างจินตนาการและให้ความผ่อนคลายแก่เจ้าของได้มากทีเดียว
ถ้าคุณสนใจที่จะผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีนี้ เว็บไซท์นี้คงไม่ทำให้คุณผิดหวัง.......



ไม้แคระกับไม้ดัด... เหมือนกันหรือเปล่า ?

ก่อนที่กล่าวอะไรกันต่อไป มาทำความเข้าใจกับเรื่องของ "ไม้แคระ" และ "ไม้ดัด" กันก่อนดีกว่า ไม้ทั้งสองประเภทนี้ต่างกันไปคนละเรื่อง คำว่า "บอนไซ" ว่าเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงไม้แคระ อันหมายถึงต้นไม้ซึ่งปกติแล้วจะมีขนาดใหญ่แต่เอามาเลี้ยงให้แคระ โดยยังคงลักษณะเดิมอยู่ทุกประการ มองดูแล้วเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ย่อส่วนลงมา ไม่ว่าจะเป็นกิ่งก้านหรือแม้แต่ใบก็มีขนาดเล็กลงสมตัวด้วย มีบางส่วนที่ถูกดัด ทั้งต้นและกิ่ง แต่ก็ยังน้อยกว่าไม้ดัดแบบไทยๆ มาก และเมื่อถึงฤดูการที่จะต้องออกดอกออกผล ไม้แคระเหล่านี้จะออกดอกออกผลได้เหมือนต้นใหญ่ๆ ไม่ใช่ต้นไม้ที่เอามาตัดกิ่งก้านทิ้งให้ต้นเล็กลงมองดูเหมือนหุ่นกระบอก แล้วไปเรียกว่าบอนไซ

ส่วนไม้ดัดนั้นเป็นภาษาไทย และมีความเป็นมาอยู่ในประเทศไทยนี้เอง ไม้ดัดเป็นไม้ยืนต้นบางชนิดที่สามารถนำมาปลูกเลี้ยงในกระถางได้ ส่วนมากที่พบมักเป็นตะโก ข่อย และโมก เมื่อต้นมีขนาดพอได้ที่แล้วก็จะทำการดัดกิ่งก้านให้มีรูปทรงตามใจชอบ แต่มีการวางกฏเกณฑ์ของรูปทรงที่แน่นอนไว้แล้ว และรูปทรงส่วนใหญ่ก็พิสดารเกินกว่าจะคาดถึง ขนาดต้นของไม้ดัดโดยทั่วไปจะสูงใหญ่กว่าบอนไซหรือไม้แคระมาก ไม้ดัดไทยอาจมีขนาดความสูงเป็นเมตรหรือสูงท่วมหัว ในขณะที่ไม้บอนไซมีความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่ที่เห็นจะสูงไม่ถึงเมตร ไม้ดัดไทยมีประวัติย้อนไปถึงสมัยอยุธยา เราจะพบการพรรณาถึงไม้ดัดอยู่เสมอในวรรณคดีไทย



ที่มาของไม้แคระ

แม้เราจะรู้จักบอนไซว่าเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วบอนไซถือกำเนิดมาจากจีน ตั้งแต่สมันราชวงศ์จิ้น ประมาณปีพุทธศุกราช 800 ถึง 900 ไม้แคระภาษาจีนออกเสียงว่า "บุ่งไช่" มีความหมายถึงการตัดแต่งต้นไม้ในกระถาง ส่วนการจัดสวนถาดหรือต้นไม้ย่อส่วนประดับทิวทัศน์นั้น มาเริ่มนิยมกันในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณปีพุทธศักราช 1160 และเป็นงานอดิเรกที่ขึ้นชื่อของคนในสมัยนั้น และเมื่อญี่ปุ่นเข้ามามีความสัมพันธ์กับจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ประมาณปี พ.ศ.337 ถึง 764 ศิลปวัฒนธรรมจีนก็เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อประเทศญี่ปุ่นอย่างมาก มาจนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1823 - 1911) ญี่ปุ่นก็ได้นำเอาศิลปะของไม้ย่อส่วนหรือไม้แคระเข้าสู่ประเทศ โดยชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาติดต่อราชการกับจีน หลังจากนั้นก็มีคนจีนที่เดินทางไปญี่ปุ่นได้นำเอาศิลปะของการเลี้ยงไม้แคระไปเผยแพร่ และนี่คือจุดเริ่มต้นของบอนไซในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่มาของไม้แคระจะเริ่มจากจีน แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นผู้ที่หลงไหลในเสน่ห์ของไม้ย่อส่วนนี้ และได้พัฒนาศิลปแขนงนี้เรื่อยมา โลกส่วนใหญ่ได้รับรู้การแพร่กระจายของศิลปการเลี้ยงไม้แคระจากญี่ปุ่น ดังนั้นเราจึงน่าจะให้เครดิตชาวญี่ปุ่นในเรื่องนี้

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไม้ดัดมีเล่นกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนบอนไซคาดว่าเริ่มรู้จักกันในสมัยอยุธยา โดยชาวญิ่ปุ่นเป็นผู้นำเข้ามา เรื่องของไม้ดัดและบอนไซนี้จะเห็นได้จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งบรรยายถึงไม้ดัดและไม้แคระไว้หลายตอน แต่ในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นความนิยมในไม้ดัดมากกว่าไม้แคระ การเลี้ยงบอนไซหรือไม้แคระนี้กลับมาเป็นที่นิยมกันเมื่อประมาณยี่สิบปีมานี้เอง และก็เป็นที่น่าเสียดายที่ว่า เมื่อห้าหกปีที่ผ่านมานี้ความนิยมในการเลี้ยงบอนไซกลับเสื่อมลงไปอีก ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการโก่งราคาซื้อขายกันสูงลิบลิ่วในช่วงที่กำลังเห่อกันเต็มที่ ทำให้นักเลี้ยงหน้าใหม่ท้อใจไปตามๆ กัน ประการที่สองก็คือ ไม้ป่าที่มีอยู่ถูกขุดมาขายกันจนเกลี้ยงป่าไปแล้ว ทราบว่าตอนนี้ต้องแอบเข้าไปขุดเอามาจากเพื่อนบ้านข้างๆ เรา แต่ปัจจุบันราคาไม้ที่พอจะเอามาทำบอนไซได้เริ่มลดลงแล้ว ถ้าจะหาซื้อจากสวนจตุจักรก็พอจะหาได้ด้วยสนนราคาที่พอจะสู้ไหวแต่จะให้ได้รูปทรงตามตำราคงลำบาก

ศิลปของบอนไซ

บอกกันเสียแต่เนิ่นๆ เลยว่า สิ่งที่เรากำลังจะคุยกันต่อไปนี้เป็นเรื่องสำหรับผู้ที่ "รัก" และ "เข้าใจ" ในศิลปของไม้บอนไซ และต้องการจะเป็นเจ้าของไม้ต้นนั้นๆ อย่างสมบูรณ์ ด้วยการลงมือเลี้ยง ดัดกิ่ง ตัดแต่ง และดูแลด้วยตัวเองเท่านั้น สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของไม้บอนไซด้วยการไปซื้อไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้ จนรูปทรงสมบูรณ์แล้วมาตั้งไว้ในบ้าน เพราะเห็นว่าสวยดี ถ้าจะลองอ่านดูก็ไม่ผิดกติกาอันใด แต่หากตั้งดูเล่นแล้วก็เกิดไปหลงเสน่ห์มันเข้าจริงๆ ถ้าอยากจะลองทำทุกอย่างด้วยตนเองบ้าง เว็บไซท์นี้ก็ขอต้อนรับด้วยความยินดี

การปลูกเลี้ยงบอนไซเป็นศิลปแขนงหนึ่งซึ่งผู้ที่จะเข้าถึงได้จะต้อง "ผ่าน" การทดสอบความอดทน ความใจเย็น และความสุขุมลุ่มลึก การตัดแต่งกิ่งบอนไซต้องการความมีสมาธิอย่างมาก คมกรรไกรที่กดลงบนกิ่งแต่ละกิ่งต้องการความเชื่อมั่นอย่างสูง ความผิดพลาดแม้แต่เพียงน้อยนิดหมายถึงการเริ่มต้นใหม่ นั่นคือการรอคอยให้กิ่งใหม่แตกออกมาแทนกิ่งที่ถูกตัดผิดพลาดไป ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาในการรอคอยกิ่งใหม่นี้นานนับปีทีเดียว

ศิลปของบอนไซเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่จะนำมาทำเป็นไม้แคระ
การปลูกเลี้ยง การตัด การดัดและตกแต่งกิ่ง การบำรุงรักษา ซึ่งล่วนแต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความใจเย็น ความประณีตบรรจงในการทำงานแต่ละขั้นตอน ตลอดจนความอดทน รอคอยการเจริญเติบโตของแต่ละกิ่งแต่ละใบ และต่อไปถึงการเลือกกระถางที่จะใช้ปลูกให้พอเหมาะและกลมกลืนกับต้นไม้ และที่สำคัญที่สุดสิ่งที่เป็น"หัวใจ"ซึ่งผู้ปลูกเลี้ยงบอนไซทุกคนจะต้องมีก็คือ สายตาและจินตนาการที่ลึกซึ้งในการมองให้เห็นภาพว่า บริเวณส่วนนั้นๆ ของลำต้นควรจะมีกิ่งอยู่ตรงไหน กิ่งนั้นจะมีรูปทรงอย่างไร คดเคี้ยวไปทางไหน จึงจะทำให้ไม้ต้นนั้นมองดูเหมือนธรรมชาติมากที่สุด จากนั้นก็ลงมือจัดการให้ทุกอย่างเป็นไปตามจินตนาการ
ดังนั้น สิ่งตอบแทนที่ได้จากการปลูกเลี้ยงบอนไซ จึงมีคุณค่าในด้านจิตใจเกินกว่าที่จะกล่าวออกมาเป็นคำพูดได้



มาเลี้ยงบอนไซกันเถอะ

สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นหรือต้องการเรียนรู้การเลี้ยงไม้บอนไซ เว็บไซด์นี้จะช่วยแนะนำให้คุณตั้งแต่เริ่มทำความรู้จักกับแบบต่างๆ ของไม้บอนไซซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รู้จักกับกระถางบอนไซรูปร่างต่างๆ ตลอดจนการเลือกกระถางให้เข้ากับต้นไม้ของคุณ การเตรียมดินและเครื่องปลูก การปลูกเลี้ยง การดัดและการตัดแต่งทรงไม้ การดูแลรักษา และแนะนำพันธุ์ไม้ไทยที่สามารถนำมาทำบอนไซให้คุณได้เลือก และแถมท้ายด้วยเทคนิคของการทำไม้เกาะหิน อันเป็นที่ชื่นชอบของนักเลี้ยงบอนไซทั้งหลาย
เพื่อความสะดวกในการติดตาม เว็บไวด์นี้จึงแบ่งเรื่องของบอนไซออกเป็นตอนๆ คุณต้องการอ่านเรื่องใดก็เพียงแต่คลิกปุ่มซ้ายของเมาส์ที่บทนั้น จากนั้นก็ใช้เวลาของคุณตามสะดวก หรือหากต้องการจะพิมพ์ออกมาไว้อ่านทีหลังก็เชิญตามใจชอบ แต่เนื่องจากยังเขียนได้ไม่ครบทุกบท ดังนั้นจึงขอให้เลือกอ่านเฉพาะบทที่มีเครื่องหมาย check mark ไปพลางๆ ก่อน และขออภัยในความไม่สมประกอบมา ณ ที่นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะพยายามเขียนให้เสร็จเรียบร้อยโดยเร็วที่สุดเท่าเวลาจะอำนวยให้

บอนไซ-ทูเดย์

บอนไซทูเดย์ เป็นหมู่บ้านของคนรักบอนไซ เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบอนไซ เครื่อมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้เพาะเลี้ยงบอนไซ สไตล์ของบอนไซ รวมทั้งเทคนิค เคล็ดลับต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงและสร้างทรงบอนไซสไตล์ต่างๆ

บอนไซทูเดย์ เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ที่สนใจที่จะเพาะเลี้ยงบอนไซ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน โดยบอนไซทูเดย์จะทำหน้าที่นำเสนอหลักและวิธีการต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงบอนไซให้กับผู้สนใจ และในขณะเดียวกันบอนไซทูเดย์ก็ปรารถนาที่จะได้รับประสบการณ์ คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และข้อคิดที่เป็นประโยชน์จากผู้เพาะเลี้ยงบอนไซมือเก่าผู้มีประสบการณ์ ได้เอื้อเฟื้อแบ่งปันความรู้ให้ ด้วยความยินดียี่ง

บอนไซทูเดย์ ขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมสร้างสรรค์เวบบอร์ดการเพาะเลี้ยงบอนไซนี้ ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค แนวคิด และข้อคิดเห็นในบอร์ดนี้ เพื่อร่วมกันเผยแพร่และจรรโลงวงการเพาะเลี้ยงบอนไซของไทยให้กว้างขวางและพัฒนาสืบไป

สมาชิกท่านใดมีความประสงค์ จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค กลเม็ดเคล็ดลับ ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการเพาะเลี้ยงบอนไซ เชิญที่ห้องไอเดียดีๆจากสมาชิก โดยไม่ต้องใช้รหัส signin

12 สิงหาคม 2549 ทีมงานได้เปิดห้องใหม่ เป็นห้องซื้อขาย-แลกเปลี่ยนขึ้น เพื่อให้สมาชิกได้ประกาศแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย บอนไซและอุปกรณ์กันตามอัธยาศัย เป็นการติดต่อกันโดยตรงไม่ต้องผ่านทีมงานหรือคนกลางใดๆทั้งสิ้น

หากท่านมีข้อสงสัย ต้องการสอบถาม หรือฝากเรื่องเจ้าบ้าน ขอเชิญที่ห้อง u ถาม-i ตอบ ทางเจ้าบ้านและทีมงานยินดีตอบข้อสงสัยและน้อมรับข้อเสนอแนะของทุกท่าน ด้วยความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

เคนจิ เจ้าบ้านkanjimail@thaimail.com



โพสต์โดย :
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เปิดอ่าน : 105 / 0 ความเห็น
คะแนนของข่าวนี้

(80.00%-2 ผู้โหวต)

ข่าวฮอต
"สพฐ."ประกาศรายชื่อครูเออร์ลี่ฯ แล้ว
[เปิด 2567/1 ความเห็น]
5 แนวทางเลือกหลังการเกษียณ
[เปิด 769/2 ความเห็น]
ครูเฮ! เลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี รับ 1.5 ขั้นทุกคน
[เปิด 8680/40 ความเห็น]
รายชื่อ ผอ.สพท.ใหม่ 22 ท่านแรก
[เปิด 4372/16 ความเห็น]
ไม่มีความเห็น
ข้อมูลในหมวดเดียวกัน
ครั้งหนึ่ง กับชีวิตครูดอย [1]
mv เพลง ใจร้าว มาฟังกันเยอะนะ เพราะดี [7]
เรื่องของ โอปอ (จี๊ด จี๊ดดดดดดด) [5]
เหรียญ 5 บาท (มาอ่านดูสิ) [5]
31 วันมหัศจรรย์แห่งรัก .... o(‧'''‧)o (ตรงกับตัวคุณมั้ย) [8]

[เรื่องราวดีๆ ที่ ..นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์.. เป็นคนเขียน]

มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ ปิดทองพระพุทธรูป ได้บุญอย่างไร [60]
ชมรม"พระจันทร์ยิ้ม" ขอเชิญร่วมกิจกรรม..ทางพระพุทธศาสนา... [55]
"พระจันทร์ยิ้ม" แสงธรรมที่ส่องทาง...แสงสว่างธรรมประจำใจ....... [57]
"บอนไซ" ต้นไม้มหัศจรรย์....ทำเงินล้าน...รวยๆๆๆๆๆ [105]
เปิดโลกอัจฉริยะแห่งการเรียนรู้..ให้เด็กตามฝัน อาชีพในอนาคต..... [56]

กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1

แสดงความเห็นต่อข่าวนี้

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม,
เบอร์โทรศัพท์, รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ

ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น
ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที
โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม
กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป

** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น